เมนู

นุ่งห่มสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีสัมผัส-
สบาย ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ของคนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก ย่อมมีอานิสงส์มาก ผ้า
กาสีนั้น ย่อมมีราคามาก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะ
บุคคลนี้มีราคามาก
2. แม้หากว่าภิกษุชั้นมัชฌิมะ ฯลฯ
3. แม้หากว่าภิกษุชั้นพระเถระ มีศีล มีธรรมอันงาม ผ้ากาสีนั้น
สีงาม แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม
ส่วนคนเหล่าใด ย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้
การเสพนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอด
กาลนาน ผ้ากาสีนั้นมีสัมผัสสบาย แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็
เพราะบุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ
คนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ผ้ากาสีนั้น
มีราคามาก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีค่ามาก
หากว่าพระเถระเห็นปานนี้จะว่ากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะกล่าว
กับพระเถระผู้นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเงียบเสียง พระเถระกล่าว
ธรรมและวินัย ถ้อยคำของพระเถระนั้น ย่อมถึงซึ่งความเป็นของควรเก็บไว้ใน
หทัย ดุจผ้ากาสีนั้น อันบุคคลควรเก็บไว้ในโถของหอมฉะนั้น บุคคลเปรียบ
ด้วยผ้าแคว้นกาสี 3 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย.

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี 3 จำพวก


ผ้าเนื้อละเอียดที่เขาทอด้วยด้ายที่เขาถือเอาฝ้าย 3 ชนิด แล้วกรอเข้า
ด้วยกันว่า ผ้าแคว้นกาสี. ผ้านั้นที่ทอใหม่นับค่ามิได้ ที่ใช้สอยกลางเก่ากลาง

ใหม่มีราคาพันบ้าง 30 พันบ้าง แต่ในเวลาที่เก่าแล้วยังมีราคาถึง 8 พันก็มี 10
พันก็มี.
สองบทว่า "เตสนฺตํ โหติ" ความว่า การเสพนั้นของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เหมือนบุคคล
ทั้งหลายผู้เสพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายผู้อาศัย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว แล้วหลุดพ้นจากอาสวกิเลสจนถึงสมัยทุก
วันนี้นับประมาณมิได้ สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลาน-
เถระและพระอสีติมหาสาวก แล้วไปสู่สวรรค์ก็หาประมาณมิได้เหมือนกัน แม้
สัตว์ผู้ดำเนินไปตามทิฏฐานุคติ คือ ตามเยี่ยงอย่างของพระอริยะเหล่านั้นจนถึง
สมัยทุกวันนี้ก็หาประมาณมิได้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อาเธยฺยํ คจฺฉติ" ความว่า คำของพระเถระนั้นอาศัย
อรรถย่อมถึงซึ่งความเป็นของอันบุคคลพึงเก็บรักษาไว้ คือ วางไว้บนศีรษะอัน
เป็นอวัยวะอันสูงสุด และในหัวใจ เหมือนกันกับผ้าแคว้นกาสี อันนับค่ามิได้
ย่อมถึงซึ่งความเป็นของบุคคลพึงเก็บรักษาไว้ คือวางไว้ในโถสำหรับใส่ของ
หอม ฉะนั้น.
คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.
[98] 1. สุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้มีมานะฟูขึ้นดุจไม้อ้อ
เป็นผู้กลับกลอก เป็นผู้ปากกล้า เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติหลงลืม
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์เปิดเผย นี้เรียกว่า
บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย.

2. ทุปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณได้ยาก เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่มีมานะฟูขึ้นดุจไม้
อ้อ ไม่เป็นผู้กลับกลอก ไม้เป็นผู้ปากกล้า ไม่เป็นผู้มีวาจาเกลื่อนกล่น มีสติ
ตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตเป็นสมาธิ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว
นี้เรียกว่า บุคคลผู้ประมาณได้ยาก.
3. อัปปเมยยบุคคล บุคคลผู้ประมาณไม่ได้ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง
แล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม นี้เรียกว่า บุคคลผู้
ประมาณไม่ได้.


อรรถกถาบุคคลผู้ประมาณได้ง่าย เป็นต้น


ผู้ใด อันเขาพึงประมาณได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้นผู้นั้นจึงชื่อว่า
สุปฺปเมยฺโย แปลว่า ผู้ประมาณได้โดยง่าย.
บทว่า "อิธ" ได้แก่ ในสัตว์โลกนี้.
บทว่า "อุทฺธโต" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
บทว่า "อุนฺนโฬ" ได้แก่ ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันบุคคลยกขึ้น
แล้ว อธิบายว่า ผู้ยกมานะอันเปล่าแล้วดำรงอยู่.
บทว่า "จปโล" ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความหวั่นไหว มีการประดับ
บาตรเป็นต้น.